แผงคอยล์ร้อน คือ แผงคอนเดนเซอร์ (Condenser) มีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำ ทำหน้าที่ระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะติดตั้งอยู่ส่วนหน้าสุดของรถยนต์ โดยจะมีพัดลมระบายอากาศติดตั้งอยู่ใกล้ ๆ 1 หรือ 2 ตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของรถยนต์ ระบบระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์หากไม่มีการระบายความร้อนออกจากน้ำยาแอร์ หรือมีการระบายความร้อนออกน้อย เช่น พัดลมเครื่องยนต์ไม่ทำงาน แผงร้อน (Condenser) เกิดการอุดตัน ส่งผลให้น้ำยาที่ส่งเข้าคอยล์เย็นมีอุณหภูมิสูง ทำให้แอร์ไม่เย็น
สาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ระบบปรับอากาศของรถยนต์เกิดจากการทำงานของแผงคอยล์ร้อนระบายความร้อนทำงานได้ไม่เพียงพอ หรือพัดลมหน้าคอยล์ร้อนไม่ทำงาน ทำให้น้ำยาแอร์ที่ออกมาจากคอมเพรสเซอร์ไม่มีการระบายความร้อน น้ำยาแอร์ที่ส่งเข้าคอยล์เย็นจึงมีอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของแอร์ไม่เย็น หรือจะเย็นก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่ของรถ เพราะมีลมเข้าไปช่วยระบายความร้อน แต่เมื่อรถจอดนิ่ง ทำให้ไม่มีลมผ่านด้านหน้าแผงคอยล์ คอยล์ร้อนก็จะไม่สามารถระบายความร้อนได้ ทำให้แอร์ไม่เย็น
สำหรับวิธีตรวจสอบว่าแผงคอยล์มีปัญหาหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการเปิดฝากระโปรงรถแล้วติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์ดูว่าขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน พัดลมหน้าแผงคอยล์ร้อนทำงานด้วยหรือไม่ มีอาการหมุนช้า และมีเสียงดังหรือเปล่า หากพัดลมหน้าไม่ทำงาน นั่นแสดงว่าพัดลมด้านหน้าแผงคอยล์ร้อนเสีย ต้องทำการเปลี่ยนพัดลมใหม่ แต่ถ้าเกิดจากแผงคอยล์ร้อนสกปรกให้รีบทำความสะอาด จะทำให้การระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ดีขึ้น
ซึ่งโดยปกติหลังจากการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบแอร์ เราจะทำการทำความสะอาดคอนเดนเซอร์ เพื่อให้การระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบแอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน: สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน 24Carfix ได้ทั้งในระบบ iOS และ Android
2. ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ: ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ
3. เรียกช่างซ่อมรถ: เลือกบริการื่ต้องการและระบุปัญหาที่พบเจอ จากนั้นกดเรียกช่าง
4. รอช่างมาถึงที่: ช่างจะมาถึงที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว และดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาให้ท่านทันที
ติดตามอัปเดตข่าวสาร 24 Carfix ซ่อมรถถึงที่ 24 ชม.
#การดูแลแอร์รถยนต์#ซ่อมแอร์รถยนต์#เติมน้ำยาแอร์รถยนต์#ล้างแอร์รถยนต์#ซ่อมแอร์รถยนต์#ร้านซ่อมแอร์รถยนต์ใกล้ฉัน#ซ่อมแอร์รถยนต์นอกสถานที่#เติมน้ำยาแอร์รถยนต์นอกสถานที่#วิธีเติมน้ำยาแอร์รถยนต์#วิธีเช็คว่าแอร์รถยนต์เสีย