การอ่านค่าความหนืดน้ำมันเครื่อง
ค่าความหนืดน้ำมันเครื่อง เป็นค่าระบุขนาดความหนืดมากหรือค่าความหนืดน้อยของน้ำมันเครื่อง ซึ่งค่าความหนืดนั้นจะถูกระบุไว้บนฉลากน้ำมันเครื่อง แต่ละตัวเลขเหมาะกับรถประเภทไหนและมีหลักการเลือกอย่างไร มาดูกัน
ค่าความหนืดน้ำมันเครื่อง ถูกกำหนดโดยสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา (Society of Automotive Engineers หรือ SAE) ดังนั้นค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องจะขึ้นต้นด้วย “SAE” แล้วตามด้วยตัวเลข
1. ค่าความหนืดเกรดเดี่ยว
ตัวอย่างเช่น SAE 10W, 30, 40 และ 50 หมายถึง
- ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติอยู่ในช่วงค่าความหนืดเดียวเท่านั้น
- ค่าความหนืดสำหรับเขตหนาว จะตามด้วยตัวอักษร “W” ย่อมาจาก Winter Grade เช่น 10W หมายถึงการบอกค่าความสามารถของน้ำมันเครื่องในการไหลตัว ในขณะอุณหภูมิติดลบ หากตัวเลขค่าด้านหน้าของ W น้อย หมายความว่าน้ำมันเครื่องยิ่งมีค่าความหนืดต่ำและสามารถไหลตัวที่อุณหภูมิติดลบต่ำมากได้ เช่น SAE 0W หมายถึงสามารถไหลตัวได้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -40 องศา หากเป็นค่า SAE 15W หมายถึงสามารถไหลตัวได้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -25 องศา เป็นต้น
- ค่าความหนืดเขตร้อน (Summer Grade) จะไม่มีตัวอักษร W ตามหลัง เป็นการบอกถึงช่วงความหนืดของน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิสูง 100 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับอุณหภูมิใช้งานทั่วไปของน้ำมันเครื่อง โดยตัวเลขค่ายิ่งมาก หมายความว่าน้ำมันเครื่องยิ่งมีค่าความหนืดสูง มีความหนาและความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมันมากขึ้น สามารถทนต่อแรงเฉือนสูงที่อุณหภูมิสูง 150 องศา นอกจากนี้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูงขึ้นยังสามารถยึดเกาะผิวโลหะได้ดีและมีอัตราการระเหยต่ำลง จึงช่วยลดการพร่องหรืออาการกินน้ำมันเครื่องได้ อย่างไรก็ตามค่าความหนืดที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดแรงต้านการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ในเครื่องยนต์มากขึ้น ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและการตอบสนองอัตราเร่ง จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ ลักษณะการขับขี่ของผู้ใช้รถด้วย

2. ค่าความหนืดเกรดรวม
ตัวอย่างเช่น SAE 0W-20, 0W-30, 0W-40 และ 5W-40 หมายถึง
- ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติอยู่ใน 2 ช่วง ครอบคลุมทั้งเขตหนาวและเขตร้อน
- ขณะที่อุณหภูมิต่ำหรือตอนเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ที่กำลังเย็นอยู่ น้ำมันเครื่องจะมีค่าความหนืดหรือความสามารถในการไหลตัวเทียบเท่ากับตัวเลขค่าความหนืดด้านหน้า เช่น SAE 0W, 5W, 10W และ 15W เป็นต้น เมื่อเครื่องยนต์ทำงานได้ระยะหนึ่ง อุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นและเข้าสู่อุณหภูมิทำงานปกติ ซึ่งค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องหรือความหนา ความแข็งแรงของฟิล์มน้ำมันจะอยู่ในช่วงตัวเลขค่าความหนืดด้านหลัง เช่น SAE 20, 30, 40 และ 50 เป็นต้น
- จุดเด่นของน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดเกรดรวม จะมีการไหลตัวหล่อลื่นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ดีและรวดเร็ว ช่วยป้องกันการสึกหรอที่มักเกิดขึ้นมากที่สุดตอนสตาร์ทได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยืดอายุและคงสมรรถนะเครื่องยนต์ หากตัวเลขด้านหน้า W น้อย หมายถึงค่าดัชนีความหนืดยิ่งสูง
การเลือกค่าความหนืดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่ผ่านมาตรฐาน มีคุณภาพ และควรศึกษาคู่มือประจำรถควบคู่ไปด้วย

การเลือกใช้น้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่างเช่น น้ำมันเครื่อง ปตท น้ำมันเครื่องที่ได้มาตรฐานระดับโลก มีการออกแบบน้ำมันเครื่องให้มีหลากหลาย น้ำมันเครื่อง ปตท จึงเหมาะกับรถยนต์ทุกประเภทและสามารถตอบโจทย์การใช้งานอย่างแท้จริง น้ำมันเครื่อง ปตท จึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถและนี่คือประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ที่เราจะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพให้ชัดเจนขึ้น เช่น น้ำมันเครื่อง ปตท สังเคราะห์แท้ สำหรับเครื่องดีเซลและเครื่องเบนซิน
ติดต่อโทร : 094-8619595 , 061-4152978
วิธีการใช้บริการ 24Carfix
1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน: สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน 24Carfix ได้ทั้งในระบบ iOS และ Android
2. ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ: ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ
3. เรียกช่างซ่อมรถ: เลือกบริการื่ต้องการและระบุปัญหาที่พบเจอ จากนั้นกดเรียกช่าง
4. รอช่างมาถึงที่: ช่างจะมาถึงที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว และดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาให้ท่านทันที
ติดตามอัปเดตข่าวสาร 24 Carfix ซ่อมรถถึงที่ 24 ชม.
#อาการน้ำมันเครื่องรถยนต์พร่อง#น้ำมันเครื่องรถยนต์หาย#น้ำมันเครื่องรถยนต์รั่ว#น้ำมันเครื่องรถยนต์ดำ#น้ำมันเครื่องรถยนต์เหนียว#ควันขาวออกจากท่อไอเสีย#เครื่องยนต์เสียง#รถสั่นขณะขับขี่ดัง#รถกินน้ำมัน#เครื่องยนต์ร้อนจัด