มาตรฐานน้ำมันเครื่อง

มาตรฐานน้ำมันเครื่องคืออะไร

มาตรฐานของน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นในรถยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าน้ำมันที่เราจะใช้มีคุณภาพสูงและตรงตามข้อกำหนดที่เหมาะสม ทำให้สามารถหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลัก ๆ แล้ว มาตรฐานน้ำมันเครื่องจะเกียวข้องกับหลายปัจจัย เช่น ความหนืด ที่เกี่ยวข้องกับการไหลของน้ำมันในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังมีการ ป้องกันการสึกหรอ ที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนภายใน และการ ต้านทานการเกิดฟอง ที่อาจลดประสิทธิภาพการหล่อลื่น รวมถึงการ ทำความสะอาด ที่ป้องกันการสะสมของตะกรันในเครื่องยนต์

การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์ที่มีปัจจัยต่าง ๆ ในการเลือกซื้อ โดยมักดูที่ค่าความหนืดและคุณภาพของของผลิตภัณฑ์ที่กำกับโดยมาตรฐานต่าง ๆ เช่น

  • SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
  • API- AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
  • US MILITARY CLASSIFICATION-สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา
  • ASTM- AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
  • CCMC – COMITEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

ในกรณี้นี้จะยกตัวอย่างมาตรฐานที่นิยมใช้กัน 2 ประเภท สำหรับรถยนต์ คือ SAE และ API

มาตรฐาน SAE

มาตรฐาน SAE จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ชุด คือ SAE XW-XX โดย

ตัวเลขชุดหน้า แสดงถึงการวัดค่ามาตรฐานในเขตหนาว (สัญลักษณ์ W- Winter Grade) จะเป็นการวัดค่าต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิ 20 องศาเซสเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั้งแต่ 0 องศาเซสเซียสจนถึง -30 องศา

เซสเซียส โดยตัวอักษร W ที่ระบุแสดงถึง WINTER โดยตัวเลขค่าต่าง ๆ สามารถสรุปผลได้ ดังนี้

  • 0W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 5W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 10W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 15W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 20W คือ ความสามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข

หรือ ที่ตัวเลขข้างหน้ายิ่งน้อย ความสามารถในการไหลที่อุณหภูมิติดลบ จะมากกว่า แต่ที่ไทยไม่เคยเจอติดลบ ส่วนใหญ่แล้วจะดูค่าความหนืดที่ชุดตัวเลขหลังมากกว่า

ตัวเลขชุดหลัง แสดงถึงการวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซสเซียส แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (NUMBER) เช่น 30, 40, 50 เป็นต้น โดยตัวเลขที่มากขึ้น แสดงถึง ความหนืดน้ำมันที่มากขึ้น หรือ ฟิลม์ของน้ำมันที่หนากว่า ตามค่าที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความหนืดมิได้เป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่องนั้น ๆ ผู้ใช้ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของท่าน เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส เพราะระยะห่างระหว่างเฟืองเกียร์ ของเเครื่องยนต์น้อย ใช้น้ำมันเบอร์ใส การไหลของน้ำมันจะดีกว่า จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น

แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น ฟิมล์น้ำมันที่หนาขึ้น จะช่วยลดการเสียดสีของเฟืองเกียร์ได้มากกว่า ช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น



มาตรฐานAPI

มาตรฐาน API เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่อง โดยมาตรฐาน API จะขึ้นต้นด้วย API และตามด้วย

  • S- โดย S - Service Station Classifications สำหรับเครื่องยนต์เบนซิล  
  • C- โดย C - COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

จะมีเฉพาะตัวอักษรด้านท้ายตัวเดียวเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง โดยอักษรตัวสุดท้ายจะเริ่มต้นตามภาษาอังกฤษ คือ A B C ... ไล่ไปเรื่อย ๆ ยิ่งไกลจากตัว A เท่าไรแสดงว่า เป็นเกรดคุณภาพสูงขึ้น API มีการประกาศใช้ระดับมาตรฐานใหม่ไม่บ่อยทุก 3-10 ปี ไล่ห่างจากตัว A และบางตัวอักษรก็ข้ามไป ของเบนซินและดีเซล ไล่ออกมาไม่เท่ากัน ส่วนระดับมาตรฐานเก่า ๆ ก็จะไล่ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าออกสู่ตลาด

เกรดของน้ำมันเบนซิน API SA SB SC SD SE SF SG SH SJ SL SM SN

เกรดของน้ำมันดีเซล API CA CB CC CD CE CF-4 CG-4 CH-4 CI-4 (ส่วนเลข 4 จะหมายถึงใช้กับเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ)

ในน้ำมันบางยี่ห้อ อาจระบุ API SM/CF อักษรนำหน้าจะเป็นตัว S แล้วตามด้วยว่าถ้านำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีค่ามาตรฐาน C อักษรใดขึ้นก่อน ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เชื้อเพลิงนั้น

บริการซ่อมรถนอกสถานที่24ชั่วโมง

ติดต่อโทร : 094-8619595 , 061-4152978

Line ID :@24carfix

วิธีการใช้บริการ 24Carfix

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน: สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน 24Carfix ได้ทั้งในระบบ iOS และ Android

2. ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบ: ลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ

3. เรียกช่างซ่อมรถ: เลือกบริการื่ต้องการและระบุปัญหาที่พบเจอ จากนั้นกดเรียกช่าง

4. รอช่างมาถึงที่: ช่างจะมาถึงที่ภายในเวลาอันรวดเร็ว และดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาให้ท่านทันที

ติดตามอัปเดตข่าวสาร 24 Carfix ซ่อมรถถึงที่ 24 ชม.

#อาการน้ำมันเครื่องรถยนต์พร่อง#น้ำมันเครื่องรถยนต์หาย#น้ำมันเครื่องรถยนต์รั่ว#น้ำมันเครื่องรถยนต์ดำ#น้ำมันเครื่องรถยนต์เหนียว#ควันขาวออกจากท่อไอเสีย#เครื่องยนต์เสียง#รถสั่นขณะขับขี่ดัง#รถกินน้ำมัน#เครื่องยนต์ร้อนจัด